ฉลองพระองค์ผ้าไทย สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

1 ฉลองพระองค์ชุดไทยจิตรลดา

ผ้าไหมยกดอกลำพูน ลายจงกลนี

บงกชสวยรวยรสจรดสงสารคลี่ดอกบานเบ่งแย้มแซมแสงใส

บริสุทธิ์ผุดผ่องครองประไพ

งามวิไลใดเทียบเปรียบ”จงกล”

จงกลนี เป็นบัวเชื้อชาติและสัญชาติไทยที่มีแต่ในประเทศไทยเท่านั้น เรามีหลักฐานอ้างอิงได้ถึงสมัยสุโขทัย มีลักษณะสำคัญก็คือ ดอกสีขาวอม ชมพูอ่อนที่มีกลีบซ้อนกันแน่น เรียกว่ามากที่สุดก็ว่าได้ มีลักษณะพิเศษ คือ บานแล้วไม่หุบเหมือนบัวชนิดอื่น ๆ ส่วนตัวใบทรงรีคล้ายๆ รูปหัวใจ ขอบใบเป็นหยักๆ ที่ไม่สม่ำเสมอ หน้าใบสีเขียว ส่วน หลังใบเป็นสีม่วงแดง

ลวดลายผ้ายกลำพูนเป็นการออกแบบเพื่อส่งเสริมให้เกิดความเป็นสิริมงคลและสื่อ ถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน โดยมากจะเป็นลวดลายดอกไม้เนื่องจากให้ความอ่อนหวานและสื่อถึงบุคลิกภาพ อันอ่อนน้อม ลายดอกไม้จะสมมาตรและเหมาะกับการใช้งานใน หลายๆ ลักษณะ ถ้าเป็นผ้าพันคอก็คลุมได้ทุกด้าน อีกทั้งลายดอกไม้ดูอ่อนหวาน จิตใจของคนไทยอ่อนโยน ดังนั้นความอ่อนหวานของดอกไม้จะเหมาะกับคนไทย และลายดอกไม้นั้นส่งผลถึงความอ่อนไหวต่อจิตใจผู้สร้างสรรค์ผลงานและผู้สวมใส่

Thai Chitralada Dress with Lamphun Brocade Jongkonnee Pattern
Jongkonnee is a lotus originated in Thailand only in Thailand. From evidence referring to the Sukhothai period There is an important feature Light pinkish white flowers with petals stacked tightly. Called the most It has a special characteristic that it does not bloom like other types of lotus. The leaves are oval, heart-shaped, the edge of the leaf is jagged. Irregular The front is green; the latter is reddish purple.

Lamphun Brocade Pattern is designed to foster auspiciousness and media to humility They are usually floral motifs, as they are sweet and expressive of a subtle personality. The floral pattern is symmetrical and suitable for many uses. Also the floral pattern looks sweet The minds of Thai people are gentle. Therefore, the sweetness of the flower is suitable for Thai people and the floral pattern is sensitive to the mind of the creator and the wearer.

 

2 ฉลองพระองค์ชุดไทยอมรินทร์ พระภูษาผ้ายกไหมลายเถากระดังงา

"กระดังงาส่งกลิ่นหอมฟุ้งดั่งความดี"

หัตถกรรมทอผ้าพื้นบ้านเป็นงานฝีมือที่เชื่อมโยงถึงศิลปวัฒนธรรม ประเพณีและวิถีการดำรงชีวิตของคนพื้นบ้านในแต่ละยุคสมัย ตามกาลเวลาและการหล่อหลอมให้เหมาะสมกับสภาพการเปลี่ยนแปลงของสังคม จนเป็นเอกลักษณ์ตามลักษณะของพื้นบ้านตน ภูมิปัญญาเหล่านี้สร้างขึ้นด้วยฝีมือเชิงศิลปะเพื่อถ่ายทอดและสะท้อนคุณค่าของชุมชนที่เป็นอยู่ลงในเนื้องานทั้งการบ่งบอกลักษณะที่ตั้งของชุมชนรวมถึงวัฒนธรรม ความเป็นอยู่ ที่แสดงออกมาอย่างประณีต สวยงาม และทักษะในงานฝีมือนี้จะถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้งานศิลปหัตถกรรมการทอผ้าพื้นบ้านเป็นสิ่งบอกเล่าความเป็นมาของเชื้อชาติ ชุมชนนั้นได้เป็นอย่างดี

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ผ้ายกเป็นที่นิยมในราชสำนักและแวดวงสังคมชั้นสูง เนื่องจากการคมนาคมสะดวกทั้งทางรถไฟและทางรถยนต์จากรุงเทพฯ สู่เชียงใหม่และลำพูน ภาคเหนือจึงกลายเป็นแหล่งผ้าไหมที่ลือชื่อ และตั้งแต่ พ.ศ.2475 ผ้ายกที่ทอด้วยฝีมือประณีตจากลำพูนเป็นที่ต้องการทั่วไป ไม่เฉพาะแต่ในราชสำนัก คนลำพูนที่มองการณ์ไกล ได้เริ่มสร้างโรงทอผ้ายกด้วยกี่พื้นบ้านและผลิตผ้ายกออกจำหน่าย เนื่องจากเป็นที่ต้องการเป็นอย่างมากจนเป็นหัตถกรรมที่ขึ้นชื่อซึ่งล้วนเป็นการถ่ายทอดลวดลายและวิธีการทอมาแต่รุ่นบรรพบุรุษ

ผ้ายกลำพูนถือเป็นงานศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านของชาวลำพูนมีความงดงามประณีตในการใช้ฝีมือ โดยเฉพาะศิลปะการทอผ้ายกที่เนรมิตลายดอกและเครือเถาที่นูนเด่น ทำให้ผ้ายกลำพูนเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายจากอดีตถึงปัจจุบัน

Thai Amarintra with Silk Brocade Ylang-ylang pattern
Traditional weaving handicrafts are handicrafts that are linked to art and culture also way of life of the local people in each era over time and to be molded to suit the changing conditions of society until it is unique according to the characteristics of their own folk These wisdom, created by artistic craftsmanship, are to convey and reflect the values of the community as it is in their work, both characterizing the community's location, as well as the exquisitely illustrated culture of living and the skill of this handicraft. Will be transmitted from generation to generation Therefore, the art and handicrafts, weaving of local fabrics tell the history of the ethnicity. That community as well.

The reign of King Rama VI silk brocade is popular in the royal court and high society circles. Due to convenient transportation, both by train and by car from Bangkok to Chiang Mai and Lamphun The northern region has become a famous silk fabric source and since 1932, elaborate hand-woven fabrics from Lamphun are in general demand. Not only in the royal court Lamphun people foresight Has begun to build a lifted textile mill with a few folk and produces lifted fabrics for sale Because it is in great demand until it is a well-known handicraft, which is the transmission of patterns and weaving methods since the ancestors.

Lamphun silk brocade is considered a traditional art and handicraft of Lamphun people. Especially the art of weaving, which creates a distinctive flower pattern and embossed moldings Making Lamphun silk brocade widely known from the past to the present.

3 ฉลองพระองค์ผ้าไหมมัดหมี่ลวดลายขอก่าย

(ก่าย ภาษาอีสาน หมายถึง พาดหรือทับข้างบน)
มัดหมี่ ภาษาอังกฤษเรียกว่า tie - and - dye

ซึ่งแปลว่ามัดและย้อม แต่มักนิยมเรียกว่า ikat ซึ่งเป็น คำภาษาชวา-ฉลองพระองค์ผ้าไหมมัดหมี่ลวดลายขอก่าย หมายทางหัตถกรรมเป็นการทอผ้ามัดหมี่ และภาษา อินเดียเรียกมัดหมี่ว่า พันธนะ ซึ่งก็แปลว่า ผูกมัด เช่น เดียวกัน

"มัดหมี่" การมัดย้อมด้ายหรือเส้นไหมให้เกิดสีและลวดลาย แล้วจึงนำไปทอเป็นผ้า แบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือมัดหมี่เส้นพุ่ง มัดหมี่เส้นยืน และมัดหมี่เส้นพุ่งและเส้นยืน ลักษณะเฉพาะของผ้ามัดหมี่ คือ รอยซึมของสีที่วิ่งไปตามบริเวณของลวดลายก็ไม่ถูกมัดโดยเชือกหรือวัสดุที่ติดสี และการเลื่อมล้ำในตำแหน่งของเส้นด้ายทำให้เกิดลักษณะลายที่คลาดเคลื่อนต่างจากการทอผ้าชนิดอื่นๆ ผ้ามัดหมี่ที่มีชื่อเสียงเรื่องความงามของเส้นไหมและลวดลายที่มีอิทธิพลมาจากเขมร ได้แก่ ผ้าไหม จังหวัดสุรินทร์ ผ้ามัดหมี่ไทครั่งของอุทัยธานี ชัยนาท พิจิตร สุพรรณบุรี นิยมใช้สีแดงครั่ง ทอด้วยเส้นไหมซึ่งเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะกลุ่ม บางผืนทอสลับเทคนิต เช่น ทอมัดหมี่คั่นด้วยลายขิด ต่อเชิงลายจกเป็นเทคนิคที่นิยมในหมู่ชาวเขา ชาวไทลื้อ เมืองน่าน เรียกว่า "มัดก่าน" หรือ "คาดก่าน"
มัดหมี่ลวด หรือ หมี่ลวด เป็นเทคนิคการวนเส้นไหมก่อนนำมามัด ซึ่งการมัดหมี่ลวด สันนิษฐานจากการกร่อนคำ คือคำว่ามัดหมี่”ลวดเดี๋ยว” เหลือเป็น “มัดหมี่”ลวด” ส่วนชื่อเรียกอีกอย่างสำหรับหมี่ลวดคือหมี่ล่วง เป็นการเรียกชื่อผ้าลวดอีกกลุ่ม เพื่อให้แตกต่างกันในกลุ่มหมี่ลวด หมี่ล่วงจะเป็นการทอหมี่ลวดแต่เพิ่มตาขั้นลงไปขั้นหมี่แต่ละลำเพียงหนึ่งสอดเท่านั้นเพื่อให้ลายหมี่ที่มัดในแต่ละลำสวยงามและชัดเจนมากขึ้น โดยตาสอดนั้นไม่ได้ไปทำลายหรือเด่นจนทำให้ลวดลายหมี่ลวดดูด้อยลงไปและไม่ทำให้ลวดลายหมี่ลวดแยกกันในผืนผ้า

"Royal clothes, Mudmee silk cloth with Khor Kai pattern (Northeast Language refer Draping or blank on top)"
Mudmee in English is called tie-and-dye, which means tie and dye. But it is often called ikat which is a Javanese-Malay word. Which means bond, but it has the meaning of handicraft, it is weaving mudmee and in Indian language called Mudmee as Pannana, which also means binding as well. “... Tying yarn or silk threads to dye them into different patterns is called mudmee. But this mudmee cloth will It can only be used as a sarong, so it is called a sarong mee.

"Mudmee" tie dyeing threads or silk threads to create colors and patterns And then woven into cloth, divided into 3 types:
Mudmee Standing and mudmee, weft and warp The peculiarity of the mudmee cloth is the permeation of the color that runs along areas of the pattern are not bound by ropes or colored materials. And the sequin in the position of the yarn causes the pattern to be different from other weaving types. Mudmee cloth which is famous for its beauty of silk and its influential pattern from Khmer is silk in Surin province. Tai Khrang Mudmee cloth of Uthai Thani, Chainat, Phichit, Suphanburi, used in red color. Woven with silk, which is a unique feature of the group. Some weave weave techniques such as mudmee weaving separated by Khit pattern Tor Choeng Lai Chok is a popular technique among hill tribes, Tai Lue people in Nan, called "Madkan" or "Khadkan".
Mudmee-wire, or Mee-wire, is a technique for winding threads before being tied. Which tie the wire Assumed by word corrosion Is the word Mudmee and the rest is "Mudmee" Wire ". Is called another group of wire cloth to be different in the Mee Luu group Mee Lard will be weaving, but add a step down to the step of each mee, only one insert to make the mee pattern tied in each trunk more beautiful and clear. The insertion eyes did not destroy or stand out until the sui-wai pattern seemed to deteriorate and did not cause the pattern of sui-wai separate in the fabric.

ขอบคุณ ข้อมูลโดย : We love สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี

นอกจากนี้ แฟนเพจเฟซบุ๊ก We love สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ยังได้โพสต์ภาพ สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี ทรงสวมใส่ฉลองพระองค์ด้วยผ้าไหมไทย เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินงานพระราชพิธีต่างๆ ที่ผ่านมา ดังนี้